top of page

รถเล็กป้ายแดง v รถใหญ่ป้ายขาว

รถซิตี้คาร์ หรือ B เซคเม้นท์ หรืออาจเหมาเรียกว่า Eco car ก็ได้ คันละ 4 แสนต้นๆ ถึง 5-6 แสน เช่น Jazz city vios หรือพวก yaris mazda2 suzuki ราคาขนาดนี้ ดาวน์ก็ดี ดอกก็ดี โปรก็ดี ดูแล้วมันน่าสนใจจริงๆ ของใหม่ๆ สดๆ ดีไซด์ล้ำๆ หรือ จะเล่นรถใหญ่ขึ้นมา ข้ามคลาสเลย เช่นพวก Accord Camry Teana หรือ แม้แต่ BMW หรือ Benz แต่เป็นรถมือสอง...ประมาณปี 10,11,12 ราคาอาจใกล้เคียงกัน บางทีก็เป็นตัวเลือกที่น่าคิด (ถ้าหากสภาพดีๆ ไม่ชนหนักหน่วงมา และไม่ย้อมแมวมา)

บางคนเขาก็บอกว่ารถใหม่ๆ ดีกว่า แต่จะดีกว่าแค่ไหน อย่างไร ก็ไม่ทราบ รู้แต่เพียงตรรกะที่ว่า ของใหม่ดีกว่าของใช้แล้ว พาลไปคิดว่าพวกใช้รถมือสองที่เกรดและรุ่นดีกว่า ใหญ่กว่า ว่าติดภาพลักษณ์ ติดแบรนด์ ต้องสร้างภาพให้ดูดี โน่นนี่นั่น โดยที่ไม่รู้ข้อเท็จจริงหรือเหตุผลเบื้องหลังเลย

บางครั้ง คนที่ซื้อรถกลุ่มมือสองนี้ เขาเคยขับรถมาหลายคัน หลายรุ่น หลายยี่ห้อ ไม่ใช่แค่พึ่งออกรถคันแรก แล้วยังไม่เคยมีตัวเปรียบเทียบ ทำให้คิดว่ารถตัวเองดีที่สุดในจักรวาลมาเวล ทั้งขับสนุก? อัตราเร่งก็ดีกว่า เร็วก็เท่าๆกัน แถมประหยัดกว่าอีก จะบ้าแบรนด์ไปทำไม ถึงที่หมายเหมือนกัน

อันที่จริงแล้ว หากใครได้ครอบครองรถมาแล้วหลายคัน จะพบว่ารถใหญ่มันขับง่ายกว่ารถเล็ก เสียอีก เช่นขับใน กทม. จังหวัดที่ถนนมีการก่อสร้างและขุดรื้อตลอดเวลา ความตึงตัง ความน่ิ่มนวล ความสบายก็ผิดกัน อย่างรู้สึกได้ชัด และรถใหญ่ ส่วนใหญ่ก็ไม่ค่อยมีจุดบอดของทัศนวิสัยด้วย

แม้จะใหญ่กว่า แต่พวงมาลัยก็ไม่ได้หนักไปกว่ากันเลย ส่วนใหญ่เบากว่ากันด้วยถ้าขับในเมือง อันนี้ยังไม่ได้พูดถึง ความมีเสถียรภาพในความเร็วสูง ซึ่งคนขับต่างจังหวัดบ่อยๆ จะรู้

บางคนขับแต่คันเล็กๆ มาตลอด พอได้มาลองขับคันใหญ่ ไปต่างจังหวัดไกลๆดูสักครั้ง จะเห็นได้ว่า ความเครียด ความล้า มันน้อยกว่ากันเยอะเลย.... รู้สึกไปเองหรือเปล่า..?

เอางี้... จะอธิบายให้เห็นภาพเลย เอาแค่เรื่องช่วงล่างเรื่องเดียวก็พอ ... เวลาเราดูโบว์ชัวร์ รถสมัยนี้จะมีรูปกราฟฟิค ช่วงล่าง ทั้งหน้าและหลังมาให้ดูด้วย รถเล็กนั้น ส่วนใหญ่จะดูง่ายๆ แม้ช่วงล่างหน้าจะดูคล้ายๆกับรถใหญ่ แต่ความซับซ้อนมันก็ไม่เหมือนกัน

ถ้าจะดูให้ง่ายๆกว่านั้น ดูที่ช่วงล่างหลัง รถเล็กนั้นอาจเป็นคานแข็งหรืออิสระก็แล้วแต่ แต่มันก็แปะไปที่ตัวถังหรือเฟรมหลักเลย ส่วนรถใหญ่หรือรถแพงนั้น แม้จะเป็นคานแข็ง (แต่ส่วนใหญ่จะอิสระ) มันจะประกอบไปด้วย เหล็กกล้าแรงดึสูง เหล็กกล้าธรรมดา และอลูมิเนี่ยม ร้อยกันไปร้อยกันมา เป็นตัวที่กระจายแรงกระแทก ร่วมกับสปริงและโช้ค

ช่างล่างหลัง BMW

ช่างล่างหลัง Mazda3

ช่างล่างหลัง Ecocar หรือ City car ญี่ปุ่นทั่วไป

และที่มันนิ่มนวล พร้อมๆกับหนึบแน่น เพราะบางรุ่นแพงๆมันวางบนซับเฟรมแล้วมีตัวช่วงล่างออกแบบให้เป็นโลหะที่ซ้อนกันไปมาแล้วตัวซับเฟรมค่อยมาแปะบนตัวถังอีกที ไม่เหมือนรถเล็กๆ ที่ระบบช่วงล่างจะแปะติดกับตัวถังเลย สิ่งที่รับแรงกระเทือนจึงมีเพียง สปริงและโช้คเท่านั้น.. เวลาขับใน กรุงเทพ จึงนั่งไม่สบายและเหนือยล้าง่าย

ลองจินตนาการดู .... เอาค้อนมาทุบหัวตัวเอง แค่เบาๆนะ เอาแค่พอเจ็บ แล้วเปลี่ยนใหม่ หาแผ่นเหล็กหนาพอสมควรรองหัวก่อน แล้วค่อยเอาค้อนทุบตรงแผ่นเหล็ก อาจทุบให้แรงกว่าก็ได้....เห็นไหม..เจ็บน้อยกว่ากันเยอะมากๆ. เราจะรู้สึกได้ว่า แผ่นเหล็กได้รองรับแรงและกระจายแรงไปบางส่วนก่อนถึงหัวคุณ.... นี่ยังไม่ได้พูดถึงสปริงและโช้คเลยนะ ....

และอีกอย่างหนึ่ง แม้กระทั่ง วอเร็น บัฟเฟต์ , บัณฑิต อึ้งรังษี หรือ พวกนักลงทุนสายอสังหาฯ เขาก็ไม่นิยมรถใหม่เอี่ยม เพราะมูลค่าทรัพย์สินชิ้นนี้ มันลดลงเร็วมาก หลังจากผ่านไปปีสองปี แต่หากเป็นมูลค่าของรถมือสอง เมื่อซื้อมาใช้งานจริง มูลค่ามันจะลดลงในอัตตราที่น้อยกว่ามาก....พอเห็นภาพแล้วใช่ไหมครับ...

ประเด็นหลักอยู่ที่ว่า ... คุณเลือกรถเป็นหรือเปล่า?


Featured Posts
กรุณากลับมาใหม่ภายหลัง
หลังจากที่โพสต์เผยแพร่แล้ว คุณจะเห็นข้อมูลที่นี่
Recent Posts
Archive
Search By Tags
ยังไม่มีแท็ก
Follow Us
  • Facebook Basic Square
  • Twitter Basic Square
  • Google+ Basic Square
bottom of page