top of page

เปลี่ยนยาง2เส้นก่อนได้ไหม

ได้นะถ้าจำเป็น :-o เดี๋ยวนี้ฝนตกไม่เลือกฤดูนะ ถ้ายางของคุณใช้มาจนเริ่มสึกแล้วหรือใช้มาก็2-3ปีได้แล้ว คุณควรจะเปลี่ยนยางได้แล้วครับเพื่อความปลอดภัยของคุณเอง และคุณควรจะเปลี่ยนยางให้หมดทั้ง 4 เส้นเลย แต่บางครั้งคุณอาจเปลี่ยนได้เพียง 2 เส้นเนื่องจากข้อจำกัดเรื่องการเงินของช่วงเวลานั้น (ยางสมัยนี้ไม่ใช่ถูกๆ ยิ่งถ้ารถคุณล้อขอบ 17” หรือมากกว่า เปลี่ยนครบ4ล้อ ขนหน้าแข้งร่วงเกือบหมด)

แล้วจะเปลี่ยนข้างหน้าหรือข้างหลังดีล่ะ เรามีคำตอบให้คุณครับ แต่ที่แน่นอนที่สุดคือไม่ควรเปลี่ยนยางหน้าเส้นหนึ่งหลังเส้นหนึ่ง ยกเว้นคุณอยากไปเยี่ยมท่านยมบาลไวๆ......เอาละครับเรื่องนี้เป็นเรื่องที่พูดกันมากและทำให้ผู้คนสับสนไม่น้อย โดยเฉพาะช่างหรือ จุกกรู เอ้ย กูรูข้างบ้าน ส่วนใหญ่แล้วบริษัทผลิตยางบางแห่งมักจะแนะนำให้ลูกค้าเปลี่ยนล้อหลังมากกว่า เมื่อมองในแง่ความปลอดภัยและ คิดในพื้นฐานที่ว่าผู้คนส่วนใหญ่ ใช้รถเก๋งขับหน้า (หรือแม้แต่ขับหลังก็เหมือนกัน) เป็นรถครอบครัว การแนะนำเช่นนี้ผมคิดว่าถูกต้องครับ เพราะควรจะให้ยางที่เกาะถนนมากกว่าอยู่ข้างหลัง เพราะเมื่อใดก็ตามที่เกิดเบรกแรงเกินไปในขณะโค้ง ล้อหลังจะได้ไม่ล็อค เพราะถ้าล็อคขณะโค้งก็เป็นเรื่องเลยครับ เพราะรถบางรุ่นถึงแม้สามารถปรับแรงดันน้ำมันเบรกที่ล้อหลังอัตโนมัติ แต่ใช้ไปนานๆมันก็ปรับได้ไม่เท่ากันทั้ง 2 ล้อหรอกครับ แล้วลองจินตนาการดูอีกกรณีหนึ่ง ถ้าคุณขับทางตรงด้วยความเร็วสูงแล้วคุณเหยียบเบรกกระทันหัน รถคุณก็ไม่ได้ใหม่เอี่ยมอะไร รถทั่วไปจะเซทให้เบรคหลังทำงานน้อยกว่าข้างหน้าอยู่แล้ว แต่เมื่อยางมันไม่ค่อยมีดอกแล้วและยางแข็งมากด้วย ถนนก็ยังลื่นอีก ถึงแม้เบรกหลังจะทำงานแค่ 20-30 % และถ้าเบรกหลังคุณก็จับไม่เท่ากันทั้งซ้ายขวา นั่นก็อาจเพียงพอแล้วที่ทำให้เบรกหลังล็อค (ABS อาจช่วยได้ไม่ทั้งหมดถ้าถนนลื่นและความเร็วสูงมาก) เหตุการณ์นี้จะทำให้รถหมุนปัดทีเดียว แต่ถ้ายางที่เปลี่ยนใส่ที่ล้อหลังมันจะเกาะถนนกว่า เหตุการณ์เช่นนี้ก็เกิดได้ยากกว่า บางท่านอาจจะแย้งว่าไม่ได้เป็นเช่นนั้นเสมอไป ก็จริงครับ แต่เราพูดถึง รถเก๋ง ไม่ใช่เอาไปดริฟโชว์

แต่ถ้ารถมี เอบีเอส และระบบปรับแรงดันน้ำมันเบรค รวมถึงผ้าเบรค ต่างๆ อยู่ในสภาพสมบูรณ์เหตุการณ์เช่นนี้ก็ไม่มีโอกาสน้อยเพราะรถดี แต่ก็ใช่ว่าจะชะล่าใจแล้วไม่เปลี่ยนยางนะครับ ถ้ามันสึกและหมดอายุแล้ว ควรจะเปลี่ยนนะครับ แต่มีอีกทฤษฏีหนึ่งที่ ช่างบ้านๆทั่วไปแนะนำ ก็คือ ควรจะเปลี่ยนล้อหน้า เนื่องจากล้อหน้านั้นต้องรับภาระทั้งขับเคลื่อน ทั้งเบรค ทั้งเลี้ยว และน้ำหนักเครื่อง ถึงแม้เป็นรถขับหลังภาระของยางหน้าก็มากกว่าอยู่ดี (ถ้าคุณขับเหมือนชาวบ้านนะไม่ใช่ออกตัวซะล้อฟรี) ในกรณีที่ไม่มีการสลับยางเลยหรือคุณสลับยางน้อยมาก ภายในเวลา 2 ปี ยางคู่หน้าอาจจะสึกจนอาจใช้การไม่ได้ดีโดยที่ยางหลังอาจยังพอใช้ได้อยู่อีก กรณีนี้คุณก็อาจเปลี่ยนยางที่คู่หน้าก็ได้ วิธีนี้ก็ถือว่าถูกนะครับ เพราะจริงๆแล้วขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์มากกว่า และอีกประการหนึ่งเมื่อคุณเปลี่ยนยางคู่หน้าเมื่อวิ่งด้วยความเร็ว คุณจะรู้สึกว่ามันนิ่มและนิ่งขึ้น แถมเมื่อเบรกกะทันหันระยะทางเบรกก็สั้นกว่าด้วยถ้าใช้ยางคู่หน้าใหม่ (ไม่ได้ขับด้วยความเร็วสูงนะ) สรุปแล้ว ยังไงล่ะ? สภาพถนนต่างจังหวัด โค้งเยอะ ถนนลื่น ขับไว ก็เปลี่ยน 2 เส้นหลัง (สำหรับคนทั่วไป ท้ายปัดกระทันหันเมื่อเหยียบเบรค อันตรายทำให้ตกใจได้มากกว่าหน้าดื้อโค้ง) ขับในเมืองมากกว่า รถติดๆ ไม่ชอบซิ่ง ไม่ชอบแข่ง หรือขับแค่เมืองเล็กๆ ขับไม่เกิน 60 ก็เปลี่ยน 2 เส้นหน้า ก็ได้ครับ แต่ถ้าตอบแบบครอบคลุมคำตอบเดียว ก็อยากให้เปลี่ยนหลังมากกว่า จนเมื่อมีปัจจัยพอเพียง อย่างไรก็แนะนำให้เปลี่ยนทั้ง 4 ล้อ อย่างแน่นอน หวังว่าผู้อ่านทุกท่านควรพิจารณาด้วยเหตุและผลมากกว่าเชื่อตามกันมาจากปากใครก็ไม่รู้นะครับ และขออวยพรให้ทุกท่านมีความสุขในการขับขี่ช่างหน้าฝนนี้นะครับ สวัสดีครับ

Maxxis Best price

----------------------------------------

หมายเหตุ : บางทีอาจดูเหมือนข้ดความรู้สึกบางท่าน เพราะเอาไปเทียบกับมอเตอร์ไซด์และหนังฮอลลีวู้ด ถ้าเป็นพวกมอเตอร์ไซด์นั้น ท้ายปัด จะคุมง่ายกว่าหน้าดื้อ แต่ถ้าเป็นรถยนต์4ล้อ ถ้ามาด้วยความเร็ว แล้วคุณไม่ได้มีทักษะการขับแบบสตันท์มืออาชีพ คนทั่วไปจะแก้อาการ หน้าดื้อ ได้ดีกว่า ท้ายปัด เพราะเมื่อท้ายปัด คนมักจะคืนพวงมาลัยในทิศตรงข้าม มากกว่าปกติ เพราะตกใจ นั่นก็ยิ่งทำให้รถส่ายไปส่ายมา ถ้าเป็นกระบะก็พลิกคว่ำลงร่องกลางถนนไปเลย ฉะนั้นขอยืนยัน ฟันธง เลยว่า Over steering (แบบไม่ตั้งใจ)ในยานพาหนะ 4 ล้อ อันตรายกว่า Under steering สำหรับคนปกติ แต่ถ้านักขับทักษะสูง อาจจะคุมได้ทั้งสองแบบ ดูคลิป


Featured Posts
กรุณากลับมาใหม่ภายหลัง
หลังจากที่โพสต์เผยแพร่แล้ว คุณจะเห็นข้อมูลที่นี่
Recent Posts
Archive
Search By Tags
ยังไม่มีแท็ก
Follow Us
  • Facebook Basic Square
  • Twitter Basic Square
  • Google+ Basic Square
bottom of page